Thailand Sport Center for Blind Athletes

กีฬาคนตาบอด
กีฬาภายใต้การสนับสนุนของสมาคมกีฬาคนตาบอดแห่งประเทศไทย

เสริมใจให้ทุกชีวิต

กีฬาสำหรับคนตาบอดไม่เพียงเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น แต่เป็นทางที่มีอำนาจสำหรับการเติบโตและการเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง ในสมาคมนักกีฬาคนตาบอดสามารถพัฒนาทักษะในกีฬาต่าง ๆ เช่น โกลบอล, ฟุตบอล, และยูโด ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับโลกโดยสมาคมกีฬาคนตาบอดระหว่างประเทศ (IBSA) วัตถุประสงค์สุดท้ายคือ ? การได้เห็นนักกีฬาเหล่านี้เป็นแชมป์พาราลิมปิก ซึ่งเป็นการยืนยันถึงโอกาสที่กีฬาสำหรับคนตาบอดได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตและทำลายอุปสรรค และข้อจำกัดในขณะเดียวกัน

9 ชนิดกีฬาภายใต้การสนับสนุนของสมาคมกีฬาคนตาบอดแห่งประเทศไทย

การแข่งขันแบ่งตามระดับการมองเห็น B1, B2, B3

โดยระบุระดับการแข่งแต่ละประเภทแยกตามระดับความพิการตาเป็น T11 (ตาบอดสนิท), T12 (ตาบอดเห็นลางๆ), และ T13 (นักกีฬาที่มีความบกพร่องทางสายตาปานกลาง โดยทั่วไปสามารถรับรู้รูปทรงจากระยะ 2-6 เมตร)

นักกีฬาต้องใช้ผ้าปิดตา 3 ชั้น ในการแข่ง

มีการแข่งทั้งประเภทลู่ ประเภทลาน

“Guide Runner” คือ ผู้ช่วยวิ่งนำทาง สำหรับผู้เล่นในระดับ B1 (หรือ T11)

ผู้เล่นระดับ B2 (หรือ T12) สามารถขอใช้ Guide Runner ได้หากต้องการ

มีกติกาเหมือนโบว์ลิ่งปกติ

มีอุปกรณ์พิเศษ “ไกด์เรียว” เป็นราวจับขนาดใหญ่ ใช้เพื่อให้นำทางผู้เล่นที่สายตาบอดสนิท (B1) ไปสู่เลนโบว์ลิ่ง

กระดานหมากรุกแตกต่างจากกระดานปกติ โดยกระดานในช่องสีดำจะยกตัวสูงขึ้นกว่าช่องสีขาว แต่ละช่องจะเจาะรูเพื่อให้ผู้เล่นวางตัวหมากได้สะดวก

ตัวหมากสีดำ จะมีหมุดบนหัวเพื่อผู้เล่นใช้มือสัมผัสแยกความแตกต่าง ระหว่างหมากสีดำกับหมากสีขาว

ผู้เล่นต้องขานออกเสียงทุกครั้งหลังเดินบนกระดาน

นาฬิกาจับเวลาในการแข่งขันรุ่นใหม่ มีเสียงบอกเวลา

ในการแข่งขันใช้จักรยาน 2 ที่นั่ง

“ไพลอต (Pilot)” คือ คู่ปั่นสายตาปกติที่นั่งอยู่ด้านหน้า เปรียบเสมือนตาให้กับนักกีฬาคนตาบอดที่ปั่นอยู่ด้านหลัง

มีการแข่งขันในทั้งประเภทลู่ และประเภทถนน

ผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน กติกาคล้ายการเล่นฟุตซอล

มีผู้รักษาประตูเป็นนักกีฬาสายตาปกติ ทำหน้าที่ร่วมกับโค้ชหลัก (Goal Guide) ที่อยู่หลังประตูคู่ต่อสู้เพื่อบอกตำแหน่งและจังหวะทำประตูให้แก่นักกีฬา โดยสามารถสั่งการได้เฉพาะเขตที่กำหนดไว้เท่านั้น

ลูกฟุตบอลจะมีกระดิ่งอยู่ภายในเพื่อให้เสียงบอกตำแหน่งแก่นักกีฬา

การเข้าแย่งบอล นักกีฬาจะต้องขานเสียงบอกตำแหน่งก่อนการเข้าแย่งบอลของทีมคู่ต่อสู้ ถ้าไม่ขานเสียง จะปรับเป็นลูกโทษ เพราะถือว่าทำผิดกติกา

เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน นักฟุตบอลคนที่ไม่ได้ครอบครองบอลจะต้องส่งเสียงคำว่า Voy ซึ่งเป็นภาษาสเปนแปลว่า I Go เพื่อบอกว่าฉันจะเล่นแล้วนะ ในจังหวะที่จะเข้าสกัดหรือแย่งบอล

Kick Board เป็นอุปกรณ์กระดานขนาดใหญ่ วางอยู่สองข้างสนาม เป็นอุปกรณ์สำคัญเพื่อบอกขอบเขตสนาม ป้องกันนักกีฬาในการวิ่งปะทะ ป้องกันลูกบอลออกนอกสนาม และบางครั้งถูกใช้เป็นพื้นที่ในการแย่งบอล หรือใช้สะท้อนลูกบอลเพื่อเป็นเทคนิคในการกะระยะให้กับนักกีฬา

มีผู้เล่นในสนามทีมละ 3 คน

ไม่มีการแบ่งระดับการมองเห็น นักกีฬาทุกคนจะใส่หน้ากากปิดตา

วิธีเล่น คือ แต่ละทีมกลิ้งลูกบอลที่มีกระดิ่งอยู่ภายในให้เข้าประตูของฝ่ายตรงข้าม โดยการผลัดกันรุกและรับ ทีมใดทำประตูได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะ

เป็นกีฬาหลักที่นิยมมากในหมู่นักกีฬาตาบอดทั่วโลก

กติกาคล้ายกับการแข่งยูโดปกติ

นักกีฬาจะจับเสื้อกันก่อนเริ่มต่อสู้ เพื่อบอกระยะห่างระหว่างกัน

หากมือหลุดออกจากกัน กรรมการจะสั่งให้หยุดและเริ่มจับเสื้อกันใหม่

เป็นอีกหนึ่งกีฬาที่นิยมในหมู่คนพิการหลายประเภท รวมถึงคนปกติด้วย

มีอุปกรณ์การใช้เหมือนคนปกติ

ในสนามจะมีเอ็นตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางเพื่อให้นักกีฬาจับเพื่อกำหนดเส้นทางการโยน

“Assist (แอสซิสต์)” คือ ผู้เล่นสายตาปกติที่คอยบอกทิศทาง น้ำหนัก ให้กับนักกีฬาตาบอด

การแข่งขันมี 3 ระดับ S1 (ตาบอดสนิท), S2 (มองเห็นในระยะ 1-2เมตร), และ S3 (มองเห็นในระยะ3-5เมตร)

แว่นตาว่ายน้ำด้านในทึบแสง เพื่อป้องกันการมองเห็น

“ผู้ช่วย (Tapper)” จะใช้ไม้ Tapping ให้สัญญาณเตือนนักกีฬาก่อนว่ายถึงขอบสระ